วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 6 เทคโนโลยีฐานข้อมูล

1แฟ้มข้อมูล คือ
ประเภทของแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ
1.แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File)  หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญของระบบงาน และเก็บข้อมูลไว้อย่างถาวร ข้อมูลในแฟ้มประเภทนี้มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ในระบบงานหนึ่ง ๆ สามารถมีแฟ้มข้อมูลหลักได้หลายแฟ้ม ตัวอย่างเช่น ระบบการขาย มีแฟ้มข้อมูลหลัก คือ แฟ้มลูกค้า แฟ้มสินค้า
2.แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File) หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวัน หรือความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อแฟ้มข้อมูลหลัก เป็นรายการย่อยที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุง (Update) แฟ้มข้อมูลหลัก แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นข้อมูลชั่วคราว เมื่อทำการประมวลผลเสร็จแล้ว จะเก็บไว้หรืไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบการขาย มีแฟ้มรายการเปลี่ยนแปลงคือ รายการสินค้าที่เกิดขึ้นประจำวัน รายการส่งสินค้าให้ลูกค้า
            
          การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล หมายถึง การจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูลการเตรียมวิธีการเข้าถึงข้อมูล การเรียกใช้ การเข้าถึงข้อมูล ซึ่งการจัดการแฟ้มข้อมูลนั้น มีหลายวิธีแต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีดังนี้ คือ

1. การจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File)
มีลักษณะการจัดเก็บข้อมูล การอ่านข้อมูล โดยเรียงลำดับก่อนหลัง ตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปจนถึงเรคอร์ดสุดท้ายของการเรียงข้อมูลซึ่งการเรียงข้อมูล ลำดับจะเรียงตามฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่ง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเหมาะกับระบบงานที่มีจำนวนมาก
2. การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มหรือโดยตรง (Random File/Direct File)
เป็นการจัดการแฟ้มข้อมูลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเรียงลำดับข้อมูล การทำงานของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบนี้ จะต้องมีคีย์เป็นตัวกำหนดตำแหน่งข้อมูลของเรคอร์ด โดยฟิลด์จะเป็นฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งในเรคอร์ด ระบบงานที่เหมาะสำหรับจัดการแฟ้มข้อมูลนี้
3. การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดัชนี (Indexed Sequential File) เป็นการจัดการแฟ้มข้อมูลให้สามารถใช้งานทั้งแบบลำดับและแบสุ่ม เหมาะสำหรับงานที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากและการใช้งานส่วนใหญ่มีการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบลำดับ โดยมีบางส่วนที่มีการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มโดยใช้ดัชนีในการเรียกใช้ข้อมูล แต่การทำงานจะช้า เพราะส่วนที่เป็นดัชนีไม่ได้นำเข้าไปในหน่วยความจำหลัก จะต้องอ่านจากหน่วยความจำสำรอง

2พณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ

การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999) 
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998) 
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998) 
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997) 
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997) 
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
การอ้างอิง

3การประมวลผลข้อมูล คือ
การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า ""สารสนเทศ "" 
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี ได้แก่ 1.การประมวลผลด้วยมือ 2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร และ3.การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์


4ระบบฐานข้อมูล คือ
ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ระบบฐานข้อมูลประกอบส่วนประกอบหลัก4 ส่วนได้แก่
1. ข้อมูล (Data) ข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
  • เบ็ดเสร็จ (Integrate) ฐานข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อลดข้อมูลซ้ำซ้อนระหว่างแฟ้ม
  • ใช้ร่วมกันได้ (Share) ข้อมูลแต่ละชิ้นในฐานข้อมูลสามารถนำมาแบ่งใช้กันได้ระหว่างผู้ใช้ต่าง ๆ ในระบบ
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วย อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเช่น จานแม่เหล็ก , I/O device , Device controller , I/O channels , หน่วยประมวลผล และหน่วยความจำหลัก
3. ซอฟต์แวร์ (Sorftware) ตัวกลางเชื่อมระหว่างฐานข้อมูลและผู้ใช้คือ DBMS เป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของระบบฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังมี Utility , Application Develoment tool , Desisn aids , Report writers , ect.
4. ผู้ใช้ (Users) มี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
  • Application Programmer เขียนโปรแกรมประยุกต์
  • End Users ผู้ใช้ที่อยู่กับ Online terminal เข้าถึงข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมประยุกต์ หรือผ่านภาษาเรียกค้น (Query Language)
  • Data Addministrator & Database Administrator
DA ผู้บริหารอาวุโส เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลใดในฐานข้อมูลก่อน และกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
DBA ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ เป็นผู้สร้างฐานข้อมูลและนำมาใช้งานจริง โดยควบคุมทางด้านเทคนิคที่จำเป็นในการดำเนินนโยบายที่กำหนดโดย DA


ข้อดีของการใช้ฐานข้อมูล
  • กระทัดรัด (Compactness) ไม่ต้องมีที่ซ้ำซ้อนจำนวนมาก
  • ความเร็ว (Speed) เรียกใช้ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
  • น่าเบื่อหน่ายลดลง (Less drudgery) ความยุ่งยากลดลง และความน่าเบื่อหน่ายลดลง
  • แพร่หลาย (Currency) มีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัยให้ใช้ตลอดเวลา ในวงกว้างขึ้น



อ้างอิง
cptd.chandra.ac.th/selfstud/dbsystem/ระบบฐานข้อมูลคืออะไร.html
guru.google.co.th/guru/thread?tid=3d5f2f4fcb97a72f
http://www.thaiall.com/article/ecommerce.htm#what
www.kknbc.com/~weerasak/StudentProject/Sudarut2553/htdoc/4-3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น